วิธีการลดไข้

แทนการใช้คำว่า  Antipyretics (ยาลดไข้) ที่ความหมายไม่ชัดเจน เราขอใช้คำที่มีความหมายชัดเจนกว่านั้น 2 คำ คือ 

  1. การสนับสนุนไข้ตามธรรมชาติ
  2.  การยับยั้งไข้ตามธรรมชาติ

(การเกิดไข้ตามธรรมชาติ ถือเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่มีความเหมาะสมลงตัว และดีที่สุด)

พวกเขาหมายความว่าอย่างไร

  1. เมื่อเราสนับสนุนกระบวนการเกิดไข้ตามธรรมชาติที่เหมาะสมลงตัวที่สุดนี้  เราจะอยู่ร่วมกับช่วงที่ไข้ทั้งขึ้นและลง แต่บรรเทาอาการที่ทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบายตัว และทนไม่ได้ เช่น อาการปวดหัวหรือปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้น โดยที่เราไม่ลดอุณหภูมิของไข้ เพราะไม่อย่างนั้นจะทำให้ผลประโยชน์ที่คนไข้พึงได้จากการมีไข้หมดไป  เราสามารถนำเอาความต้องการของคนไข้มาช่วยชี้นำกระบวนการเกิดไข้นี้ได้   และนี่คือสิ่งที่ Fever Friendและ ผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดต้องการแนะนำเมื่อมีไข้
  2. การยับยั้งไข้ หรือการขัดขวางกระบวนการเกิดไข้ เป็นวิธีการต่อต้านกระบวนการตามธรรมชาติ เป็นการบังคับให้ร่างกายกลับไปสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็วเกินไป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะไม่แนะนำการลดไข้แบบนี้ หรือแม้เมื่อพิจารณาด้วยเหตุผลทั่วไปก็ไม่แนะนำเช่นกัน

 

และเพิ่อให้เราสามารถปฏิบัติต่อไข้ได้อย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์  เราจึงจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงสภาวะการขึ้นลงของไข้ตามธรรมชาติในแต่ละช่วงอย่างดี  ซึ่งเรามีบทที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด

 

1) ช่วงเวลาไข้ขึ้น (The ascending (rising) phase) โดยปกติ ไข้มักเริ่มขึ้นในตอนบ่าย และเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายไปจนถึงอุณหภูมิเป้าหมาย(a target temperature)  ในระหว่างนี้่ เส้นเลือดฝอยที่ผิวจะหดตัว ขาของเด็กจะเย็น หน้าซีด  และมักตัวสั่นเทาด้วยความหนาว  รู้สึกเหนื่อย หมดกำลังใจ  มีอาการปวดหัว และ รู้สึกไม่สบายตัวเลย

ถ้ามีอาการชัก ก็มักจะเกิดในช่วงนี้

ดังนั้น เพื่อป้องกันการชัก  เราจะไม่ทำให้ร่างกายของเด็กเย็นลง 

แต่จะให้ความอบอุ่น ทำให้ร่างกายไปถึงอุณหภูมิถึงเป้าหมายได้

โดยร่างกายไม่ต้องทำงานหนัก  การช่วยสนับสนุนกระบวนการสร้างความ

 อบอุ่นให้กับร่างกายนี้ทำให้สบายตัวขึ้น ไม่เกิดการสั่น ลดอาการ

ปวดหัว และลดการเกิดอาการชักได้อย่างมีนัยยะ

 

เราสามารถสร้างความอบอุ่นแก่เด็กได้โดย 

  • ถูน่อง , ข้อมือ ให้อุ่น  หรือวางกระเป๋าน้ำร้อนใต้เท้าของเด็ก
  • ห่มผ้า
  • ให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ

 

2) ช่วงไข้ขึ้นสูงสุด (Fever peak) มักจะเกิดในตอนเย็น หรือช่วงกลางคืน เส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังจะขยายตัว เพื่อปรับให้ความร้อนสมดุลย์มากขึ้น ความร้อนจะถูกระบายออก ใบหน้าแดงก่ำ แขนขาอุ่น สบายเนื้อสบายตัวขึ้น และเด็กๆก็จะเริ่มมีชีวิตชีวา

 

ในช่วงที่ไข้ขึ้นสูงสุดนี้ เราอาจช่วยให้ความร้อนกระจายออก  แต่เราไม่ต้องการลดอุณหภูมิของร่างกายไม่ว่าจะใช้วิธีอะไรก็ตาม  เราปล่อยให้ร่างกายปรับอุณหภูมิจนไปถึงจุดที่ต้องการ (set-point)โดยไม่แทรกแซง

 เป้าหมายพื้นฐานคือทำให้รู้สึกสบายตัว  ในกรณีที่รู้สึกไม่สบายตัว  ก็อาจใช้วิธีการดูแลภายนอกต่างๆได้

 วิธีที่ใช้ต้องไม่ทำให้เกิดความเย็น หรือทำให้รู้สึกไม่น่าพึงพอใจ เพื่อไม่ทำให้เกิดอาการสั่น

แต่ เราต้องไม่ใช้วิธีการที่จะกล่าวต่อไปนี้โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดอุณหภูมิ พราะเมื่อร่างกายเย็นลง ร่างกายจะเริ่มทำงานเพื่อให้มีอุณหภูมิถึงจุดที่ต้องการ( a targeted temperature)อีกครั้ง​(หมายความว่าไข้ถูกกระตุ้นขึ้นมาอีกครั้ง)

 เราจะรอคอยอย่างอดทนจนกว่าอุณหภูมิจะเริ่มลดเอง

เราช่วยให้ความร้อนกระจายสม่ำเสมอไปทั่วร่างกายได้โดย

  • เปิดผ้าห่มเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยให้การแผ่รังสีของความร้อนดีขึ้น และความร้อนถูกปลดปล่อยออก 

 

ขั้นตอน 3 ขั้นที่จะกล่าวต่อไปข้างล่างนี้ ในบางประเทศไม่แนะนำให้ทำเพื่อลดเอุณหภูมิอีกต่อไป แต่สามารถใช้เพื่อให้สบายตัวมากขึ้น

  • เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาด 
  • ใช้ผ้าหรือฟองน้ำจุ่มน้ำอุ่น (37 – 39 องศาเซลเซียส) ซึ่งอาจผสมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย
  • บิดให้หมาดเล็กน้อย
  • ค่อยๆเช็ดแขน ขา ที่อุ่น เช็ดหน้าผาก
  • หลังเช็ด อาจปล่อยให้แห้งเอง หรือใช้ผ้าแห้งซับที่ผิวก็ได้ หลังจากทิ้งไว้ 2-3 นาที

 

  • การประคบขาด้วยผ้าเปียกอุ่น ดังนี้
  • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น  37 – 39 องศาเซลเซียส) ซึ่งอาจผสมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย
  • บิดจนหมาดสนิท
  • นำผ้าไปพันรอบน่องทั้งสองข้าง
  • เมื่อผ้าเริ่มร้อน นำผ้าออกมาจุ่มน้ำมะนาว แล้วพันใหม่

 

  • การอาบน้ำเย็น
  • แช่ผู้ป่วย/เด็กที่มีไข้ลงในน้ำอุ่นโดยเริ่มต้นให้น้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าร่างกายเล็กน้อย แล้วแช่จนอุณหภูมิของน้ำลดลงเหลือ 34 องศา โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์วัด หรือจนกระทั่ง มือของเรารู้สึกว่าน้ำอุ่นสบาย
  • ส่วนที่แช่ในน้ำ ต่ำกว่าระดับเอว
  • ร่างกายส่วนเหนือเอวขึ้นไป ใช้ฟองน้ำ หรือ ผ้าชุบน้ำ เช็ด

เพื่อ ลดอาการปวดหัว ของคนที่นอนอยู่บนเตียง  ฝานมะนาวหรือเลม่อนเป็นแผ่นบางแป๊ะใต้ฝ่าเท้า วิธีการแบบนี้ไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน แต่อาศัยภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั้งเดิมของการดูแลสุขภาพภายในครอบครัว  ถ้าสามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึน และไม่ได้มีผลเสียอะไร  ซึ่งช่วยให้เราสามารถดูแลผู้ป่วยได้ด้วยความอ่อนโยน ความรักและความเอาใจใส่

การประคบ การเช็ดตัว การแช่น้ำ 

น้ำที่ระเหยออกจากร่างกายทุกๆหยด ต้องใช้พลังงานของร่างกายอย่างมาก  ผู้ป่วยที่มีไข้ต้องเผาผลาญพลังงานของร่างกายอย่างมาก เมื่อเหงื่อเริ่มออก พลังงานปริมาณมากอย่างมีนัยยะถูกปลดปล่อยออกจากร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสภาวะของการมีไข้สู่สภาวะถัดไป คือสภาวะไข้ลดลง

 

3)จุดที่อุณหภูมิเริ่มลดลง

เมื่อเหงื่อเริ่มออก ผู้ป่วยก็เริ่มรู้สึกสบายขึ้น 

เราช่วยให้พวกเขาระบายความร้อนออกด้วยการปล่อยให้เหงื่อออก มหาตมะคานธีก็ทำแบบเดียวกันกับเด็กๆ คือ ปล่อยให้พวกเขาออกเหงื่อ

 

4)อุณหภูมิปกติ หรือ ช่วงท้ายของสภาวะไข้ลด

ไม่ได้ต้องทำอะไรเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 38 องศา ปล่อยเด็กหรือผู้ใหญ่ไว้โดยไม่ต้องไปรบกวน

 

คำแนะนำสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในบางแง่มุมที่สำคัญ

  1. การให้ ยาลดไข้ เป็นประจำสำหรับเด็กที่สุขภาพดี ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ไว้ว่าเพื่อใช้ในการลดไข้เพียงประการเดียว    อาการชัก (Febrile seizures- fits) ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ยาลดไข้   ไม่แนะนำให้ใช้ยาลดไข้หลายชนิดร่วมกับสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน ไม่แนะนำให้สลับระหว่างยาที่มีสารออกฤทธิ์ต่างกันเป็นประจำ ไม่แนะนำให้ใช้ยาลดไข้ที่มีซาลิไซเลตในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
  2.  วิธีทางกายภาพเพื่อกำกับอาการไข้ (แช่อ่างและการประคบทั้งตัว)
    สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการสั่น การสั่นเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนและรบกวนวงจรตามธรรมชาติ ห้ามใช้น้ำแข็ง ห้ามปล่อยเด็กไว้ตามลำพังในอ่าง ในกรณีที่เด็กตัวเขียว (cyanosis) หรือซีด (getting pale) แสดงว่าระบบการหมุนเวียนมีอาการแย่ลง ตัวเริ่มสั่น จะต้องนำเด็กออกจากอ่างทันที เพระในกรณีนี้ จะเกิดผลในทางตรงกันข้ามคือ ร่างกายกำลังจะสร้างความร้อนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ในบทพิเศษ คุณจะพบรายละเอียดเกี่ยวกับสี่ประเด็นหลักในการดูแลเด็กที่มีไข้เพิ่มเติม:

1) การวัดอุณหภูมิร่างกาย (ไข้)

2) การให้ปริมาณเครื่องดื่มและพลังงาน

3) การดูแลด้วยความรัก การปลอบประโลม และความสงบ

4) ติดตามอาการ (การประเมินความเสี่ยง)

 

สามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง

อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024

คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง