ทัศนคติต่อการเป็นไข้จากมุมมองทางจิตวิทยาและสังคมวิทยา

ในบทความนี้ จะสำรวจปัญหาเชิงซ้อนทางจิตวิทยาและสังคมวิทยาของการเป็นไข้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติเชิงลบที่มีต่อการเป็นไข้

 

เราจะถามว่า

ทำไมผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายคนจึงต้องระงับไข้ เมื่อไม่มีความจำเป็น? 

ทำไมผู้ใหญ่ถึงรู้สึกอึดอัดลำบากใจเมื่อเด็กเป็นไข้? 

ทำไมผู้ใหญ่เองถึงมีปัญหากับอาการไข้?

 

ทัศนคติเชิงลบต่อการเป็นไข้ถูกกำหนดโดยปัจจัยพื้นฐานสองประการ ประการแรก คือ ความกลัวต่อการเป็นไข้ และประการที่สองซึ่งตรงกันข้าม  คือ การแสวงหาความสะดวกความสบาย

 

ความกลัวคืออะไรจังหวะแห่งโชคชะตาหรือโอกาส?

ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา มนุษยชาติใช้ความพยายามอย่างมาก โดยไม่เคยปรากฎที่ใดมาก่อนเพื่อการขจัดแหล่งที่มาของความกลัวที่มีในมนุษย์ และการแพทย์แผนปัจจุบันนั้นเองที่เป็นเหมือนระบบกฎหมายขั้นสูงและการเสียสละที่มีความเป็นระบบเพื่อปราบปรามโรคระบาด ทำให้เกิดความสำเร็จอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน มุ่งมั่นที่จะให้เกิดความปลอดภัยในโลกและปราศจากความกลัวแก่เรา แต่ทางกลับกันดูเหมือนว่าเราจะมีทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ "คนที่คิดอย่างมีเหตุมีผล" เผชิญกับความกลัวน้อยลงเรื่อย ๆ และรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกสมัยใหม่นี้ แม้ว่าจะมีการพัฒนาการแพทย์ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับคนในยุคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีเหตุมีผลมาก (เช่น ผู้ดำเนินการ ผู้สร้าง และผู้พิพากษา) แต่ก็ยังคงมีความหวาดกลัวอยู่ดี  มีหลักฐานข้อมูลที่มาจากการรายงานของสมาคมผู้บริโภคที่พัฒนาแล้วแห่งหนึ่ง พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น และนอกจากนี้ Fritz Riemann นักวิจัยด้านความกลัวที่มีชื่อเสียงได้อธิบายปรากฏการณ์ข้างต้นดังนี้:

 

“ดูเหมือนว่าในปัจจุบัน  เราจะมีความทุกข์แบบใหม่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเรา เราเรียนรู้เกี่ยวกับความวิตกกังวลที่เป็นผลมาจากการกระทำของตัวเราเองมากขึ้นเรื่อย ๆ และการกระทำเหล่านี้กลับกลายเป็นการต่อต้านตัวเราเอง เราทราบถึงความวิตกกังวลจากพลังทำลายล้างในตัวเรา ซึ่งเป็นผลมาจากการแทรกแซงในกระบวนการชีวิตตามธรรมชาติ ความอยากได้อำนาจ แต่ขาดความรักและความอ่อนน้อมถ่อมตน ความอยากได้อำนาจเหนือธรรมชาติและชีวิต ทำให้เกิดความกลัวที่จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกบงการด้วยจิตวิญญาณที่ว่างเปล่า หากคนในสมัยก่อนกลัวพลังแห่งธรรมชาติและกลัวปีศาจที่ร้ายกาจ รวมทั้งเทพผู้พยาบาท แต่ในปัจจุบันเรากลับต้องกลัวตัวเอง”

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่กลัวตัวเองนั้น จะทำให้ตัดขาดจากทรัพยากรที่มีอยู่ภายในตัวเอง ไม่มีทางอื่นใดที่จะแก้ไขสถานการณ์นี้ได้ มีแต่การเผชิญหน้าอย่างจริงใจและความกลัวของตัวเราเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนของเส้นทางชีวิตที่สภาวะนี้ต้องมีการพัฒนาและแก้ไข เนื่องจากสิ่งที่กระตุ้นให้หลีกเลี่ยงความกลัวอยู่ตลอดเวลา นั่นคือความกลัวของมันเอง

 

โดยทั่วไปแล้ว ความกลัวจะสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการขาดความรู้สึกปลอดภัยหรือความมั่นใจในตนเอง แต่แน่นอนว่าเป็นนั่นเป็นสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ ความกลัวเป็นแหล่งพลังงานที่ช่วยเตือนจนกว่าทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขสถานการณ์จะได้รับการพัฒนา องศาและรูปแบบของความกลัวนั้นชี้ในแง่ของผลกระทบ ตราบใดที่ความกลัวมาพร้อมกับความอยากรู้และความตื่นเต้นของการค้นพบ เรากำลังเผชิญกับแรงผลักดันเชิงบวก (ความเครียดเชิงบวก) นั่นคือความตื่นเต้นในการขึ้นแสดงบนเวที ซึ่งสามารถกระตุ้นการแสดงนั้นให้ดีขึ้นได้ ซึ่งสถานการณ์นี้จะแตกต่างกับระดับความกลัวที่รุนแรงขึ้น (ความเครียดเชิงลบ) เป็นความกลัวที่ทำให้เกิดอัมพาต ไร้กำลัง หรือความตื่นตระหนกอย่างไร้เหตุผล (panic) ที่ส่งผลให้เกิดอาการทางร่างกายอย่างรุนแรง หรือกลัวอย่างไร้เหตุผล (phobia)

 

ในกรณีของความกลัว เราจะต้องมีสติ รู้ตัวอย่างน้อยก็ในระดับใดระดับหนึ่งที่จะรับรู้ถึงสาเหตุของมัน ถึงแม้ว่าในหลายกรณี สาเหตุที่แท้จริงนั้นถูกปิดบังอยู่เบื้องหลังก็ตาม ซึ่งในกรณีของความวิตกกังวล เราจะไม่ได้ตระหนักถึงความกลัวนั้น แต่การแสดงออกที่ดูเหมือนไม่มีเหตุผลนั้นเอง เรียกว่า ความวิตกกังวล

 

เหล่านี้เป็นพลังงานที่ปรากฎในบางสถานการณ์ในชีวิตของเราและถูกใช้โดยเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้ตั้งใจหรือเราจมอยู่ในอำนาจของพลังงานนั้น ซึ่งเป็นพลังที่ทุกคนต้องเผชิญในชีวิตและต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยเหมือนเป็นแรงผลักดันและเป็นตัวช่วยให้เกิดการพัฒนา โดยแรงบีบคั้นของความกลัวนี้เอง จะทำให้เกิดความปรารถนา จากนั้นเป็นเจตจำนง และสุดท้ายกลายเป็นการกระทำ ซึ่งมาจากการเปลี่ยนความกลัวให้กลายเป็นความสามัคคีที่สมบูรณ์ และนี่เป็นโอกาสในการบรรลุความเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด และมีความรักให้กับผู้อื่น

 

การปรากฏตัวทางสังคมของความกลัวที่เกี่ยวข้องกับการเป็นไข้

อดีตก่อนที่จะมาถึงของการแพทย์แผนปัจจุบัน เชื่อกันว่าอาการป่วยที่มีความชัดเจนที่สุด คือ อาการไข้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและอาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการเป็นไข้และโรคที่ทำให้เกิดไข้ จึงแยกกันได้ยาก(หากไม่มีการรักษาที่เหมาะสม) ไข้ที่สูงถูกระบุว่าเป็นโรคที่ร้ายแรง นอกจากนี้ ไข้ที่ลดลงและการหายเป็นไข้เป็นสัญญาณของการเยียวยา ดังนั้น เนื่องจากความกลัวการเป็นไข้ จึงจำเป็นต่อการบรรเทาหรือลดไข้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในสังคม

 

ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับไข้โดยพื้นฐานได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากบทบาททางสรีรวิทยาในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว และมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษมานี้ ว่าไข้ที่สูงถึง 40-41 °C ไม่ก่อให้เกิดความความเสียหาย ไข้ที่เกิดขึ้นเองไม่ได้เพิ่มขึ้นเองตามธรรมชาติที่ 41.7 °C และการหยุดไข้ไม่ได้ป้องกันอาการชักจากไข้

 

ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้เกี่ยวกับการเป็นไข้ในหลายรูปแบบและระดับที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการดำเนินการโดยทันทีและใน 10 ปีที่ผ่านมา ได้นำหลักการควบคุมไข้สมัยใหม่มาใช้ และการตอบสนองต่อพฤติกรรมของประชากรต่อไข้ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในทางตรงกันข้าม ในประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา การต่อสู้กับโรคกลัวไข้ยังคงดำเนินไปและในประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย

 

ความกลัวและพฤติกรรมการใช้ยาลดไข้ ยังพบได้จนถึงทุกวันนี้ และส่งผลต่อทัศนคติและนิสัยของบุคลากรทางการแพทย์และคนทั่วไปเกี่ยวกับไข้ ความกลัวการเป็นไข้ที่ไม่มีเหตุ เช่น โรคกลัวไข้ (Fever phobia) เป็นปรากฏการณ์ทั่วโลกและรู้จักกันมาเกือบ 40 ปีแล้ว ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไข้และรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นถือได้ว่ามีอยู่อย่างต่อเนื่องในระดับสังคม ซึ่งทั้งผู้เชี่ยวชาญและสื่อมีบทบาทสำคัญในสังคมตะวันตกทัศนคติต่อการเป็นไข้ มีอยู่ 3 กลุ่ม

 

1) ผู้ที่เห็นว่าไข้มีประโยชน์ ยอมรับและสนับสนุนการเป็นไข้

2) ผู้ที่เปิดกว้าง มีความสงสัย ต้องการการสนับสนุนและกำลังใจ

3) ผู้ที่ปฏิเสธความคิดข้างต้น เนื่องจากทัศนคติของพวกเขาถูกกำหนดโดยความกลัวหรือต้องการความสะดวกสบาย

 

รากฐานของวิวัฒนาการ-ชีวภาพของความกลัวที่เกี่ยวข้องกับไข้

ในช่วงที่เป็นไข้ นอกจากความเชื่อเชิงลบและความหวาดกลัวในระดับสังคมที่ฝังแน่นในวัฒนธรรมของเราตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา นำไปสู่การรับรู้ที่ไร้เหตุผล แต่ยังรวมถึงสัญชาตญาณของพ่อและแม่หรือผู้ดูแลด้วย เช่น ความกลัวที่จะดำรงรักษามนุษยชาติไว้ ผู้ดูแลนั้นจึงได้เรียนรู้ที่จะติดตามอาการของเด็กตามสัญชาตญาณ (รูปที่ 1)

 

สุขภาวะทั่วไป

เปลี่ยนไป (ไม่ปกติ) ทรมาน อึดอัด ไม่สบายตัว ป่วย หงุดหงิด ร้องไห้ งอแง เจ็บปวดชักดินชักงอ

การเจ็บปวด

ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดทั่วร่างกาย

กิจกรรมต่าง ๆ

ลุกขึ้นแล้วนอนต่อ ไม่ยอมเดิน ไม่เล่น

การรู้ตัว มีสติ

ไม่รู้สึกตัว สลบ เป็นลม เพ้อ

ผิวหนัง

ซีด แดง มีผื่น ใต้ตาลึก เหงื่อออก

การไหลเวียนหลอดเลือด

หัวใจเต้นเร็วและแรงมาก

การหายใจ

หายใจเร็ว หายใจผิดปกติ คราง หอบ หายใจเสียงวี๊ด ๆ ไอ

การสูญเสียน้ำในร่างกาย

ไม่ดื่มน้ำ ปัสสาวะน้อย ท้องเสีย อาเจียน ไม่มีน้ำตาเวลาร้องไห้

รูปที่ 1. อาการต่าง ๆ

 

อาการเหล่านี้ทำให้ผู้ดูแลเกิดความคิดและความรู้สึกบางอย่าง รูปที่ 2 จะแสดงความคิดและการกระทำจากสภาพและปรากฏการณ์ในชีวิตที่เกิดขึ้นและการตอบสนองโดยทั่วไปของเด็ก และสิ่งนี้อาจเป็นเพราะว่าความคิด (รูปแบบทางจิต) ความรู้สึก และความสามารถที่แท้จริงในการกระทำนั้น เกิดจากความสัมพันธ์ที่มีความใกล้ชิดกันของเด็กและผู้ดูแล

 

Tünetekhez köthető érzések és gondolatok skálája

รูปที่ 2 ระดับความรู้สึก ความคิด การควบคุมภายในของผู้ดูแล

 

เกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดขึ้นของเด็ก

เมื่อเด็กเริ่มมีอาการ พ่อและแม่เกิดความเอาใจใส่ต่อเด็กอย่างมาก จนเกิดเป็นความวิตกกังวล ในขณะที่ร่างกายของเด็กกำลังทำงานเพื่อฟื้นสภาวะสมดุล เด็กจะไม่กินอาหาร ไม่ดื่มน้ำ แทบจะไม่เคลื่อนไหว (เหมือนตอนปกติที่เคลื่อนไหวตอนเล่น) และอยู่ในสภาวะการรู้ตัวที่ต่างออกไปจากเดิม ทำให้ไม่สนใจสภาพแวดล้อมของพวกเขา ดังนั้นผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัวเขาจึงอาจเริ่มกังวล ความกังวลนี้ค่อย ๆ นำไปสู่ความเครียด ความวิตกกังวล และในที่สุดก็เกิดความตื่นตระหนกเพราะเกิดความกลัวเด็กจะตาย ปฏิกิริยา "ตื่นตระหนก" (Panic) มีลักษณะเฉพาะคือ ทำให้เกิด "การสันนิษฐาน" (ความคาดเดา) ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของความกลัวและเป็นการกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่หลีกเลี่ยงหรือมีการควบคุมสถานการณ์จนมากเกินไป ใน "ภาวะตื่นตระหนก" นี้ เพียงพอที่นำไปสู่การคาดคะเนทำให้คิดว่าเด็กจะเกิด "อันตราย" "อาการแทรกซ้อน" "รุนแรง" จนเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายที่จะทำให้เด็กหมดสติ ดังนั้นส่งผลให้เกิดการลดไข้โดยไม่มีเหตุผล

 

ความไม่แน่นอนย่อมเกิดขึ้น เมื่อผลลัพธ์ของสถานการณ์นั้น สามารถประเมินได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ทำให้พ่อและแม่หรือผู้ดูแลเกิดความรู้สึกถึงความอันตรายและความวิตกกังวล หากสามารถประเมินสถานการณ์ได้มากกว่านี้ ก็จะสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น แต่ยังคงไม่แน่นอน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ดูแลในการหามุมมองที่เป็นกลางมากขึ้นในสถานการณ์นี้ การใช้ FeverFriend ซึ่งเป็น Application จะช่วยให้พ่อแม่ ผู้ดูแลสามารถประเมินความสำคัญที่แท้จริงของอาการและอาการแสดงของการเจ็บป่วยได้

 

การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตราย

จัดการหรือไม่? การเผชิญปัญหาแบบไหนส่งผลดีที่สุดสำหรับอนาคต? และสุดท้ายผู้ดูแลพึงพอใจกับผลลัพธ์หรือไม่?

Antonovsky กล่าวว่า สถานการณ์ชีวิตที่ยากลำบากดังกล่าว จะมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการสุขภาพที่ดีนั้นและสามารถจัดการได้สำเร็จ ถ้าสถานการณ์นั้นพบว่ามี 3 ประเด็นต่อไปเกิดขึ้นนี้ในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้ความรู้สึกสอดคล้องกันเกิดขึ้น

  • เชื่อว่าสถานการณ์ที่ยากลำบากนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้
  • เชื่อว่าผู้ดูแลสามารถจัดการกับสถานการณ์และมีทรัพยากรทั้งภายใน/ภายนอกที่เหมาะสม รู้สึกคุ้มค่าแก่กับการทุกข์ทรมานต่อสถานการณ์และคุ้มค่าต่อแก้ปัญหา นั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นโอกาสในการเรียนรู้มากกว่ารู้สึกถึงอันตราย จากคำกล่าวของ Victor Frankel "ความทุกข์จะหายไปเมื่อเราเห็นความหมายของมัน" นั่นคือเราเห็นผลที่ดีต่อร่างกายและจิตใจของการเป็นไข้
  • ความกลัวที่เราเห็นไม่ควรมองข้าม แต่ไม่ใช่ศัตรูของเรา สามารถเป็นเพื่อนและผู้ช่วยได้ ถ้าเรารู้และเคารพกฎของมัน อย่างไรก็ตาม หากเราละเลย มันก็สามารถครอบงำเราและกลายเป็นผู้กำหนดเราได้ ผู้ดูแลจะต้องก้าวข้ามว่าจะ "ต่อสู้หรือหนี" ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ช่วยผลักดัน และต้องใส่ใจกับสิ่งที่มันต้องการแสดงให้คุณเห็น

 

การดิ้นรนเพื่อความสบายใจ

นอกจากความกลัวแล้ว มีปัจจัยกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นไข้ คือ การแสวงหาความสบายใจของพ่อแม่ ผู้ดูแล ซึ่งสามารถรับรู้ได้ในประโยคดังต่อไปนี้:

"เด็กไม่สามารถพักผ่อนหรือนอนหลับได้" "เด็กดูน่าสงสารและเป็นทุกข์" "เด็กกระวนการวายมาก" “มันยากที่จะเห็นเขาทรมาน” “เด็กมีไข้หลายวันแล้ว” "อย่าทรมานเด็กเลย" “ฉันทนไม่ได้ถ้าเขาต้องทนทุกข์ทรมาน” "ฉันไม่สามารถทนต่อความไม่สบายนี้ได้"

 

บ่อยครั้งเราพบว่าเด็กสามารถอดทนต่ออาการไข้ได้ดีกว่าพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายที่มีความห่วงใยกันมาก ดังนั้นจึงสิ่งที่มักเกิดขึ้นที่พ่อแม่หรือผู้ดูแลปฏิบัติต่อเด็กนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตนเองมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล

 

ดังนั้น อย่าให้ยาเด็กเพราะการรู้สึก "หดหู่j" เพราะ

  • สิ่งนี้จะสามารถปกปิดอาการที่สำคัญ (ไข้ สภาพทั่วไปที่แย่ลง ความเจ็บปวด) และชะลอการวินิจฉัยและการรักษาตามสาเหตุของการเจ็บป่วยที่อาจร้ายแรงกว่า
  • ยับยั้งการทำงานของการป้องกันที่เป็นประโยชน์ของระบบภูมิคุ้มกัน

 

สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าในระหว่างที่ป่วยเป็นไข้นั้น เด็กจะจัดการกับทรัพยากรและกระบวนการชีวิตของพวกเขาใหม่ เป็นแค่ระยะชั่วคราวแต่มีประโยชน์มาก การนอนหลับของเด็กในตอนกลางคืนจะกระสับกระส่ายเนื่องจากไข้สูงขึ้น ในระหว่างวันเด็กจะทำกิจกรรมที่ลงโดยนอนอยู่แค่บนเตียง ทำให้เขาไม่ต้องการดื่มน้ำเมื่อไข้ขึ้น ดังนั้นเขาจึงกระหายน้ำและเหงื่อออกหลังจากมีไข้สูงที่สุด เช่นเดียวกับการกินอาหาร “การเบื่ออาหารทางสรีรวิทยา” จึงเป็นเรื่องปกติของการไข้ เพราะเด็กกำลังใช้ส่วนที่ร่างกายเก็บไว้เพื่อให้จัดการให้โรคหายไป

ขณะที่รักษาประโยชน์ของการเป็นไข้ เพื่อเป็นการทำให้ความเป็นอยู่ของคุณดีขึ้น ก็เหมือนกับนักกีฬาที่แค่ซ้อมหนักและก็ต้องสู้ต่อไป ในการดูแลนี้ สามารถที่ดูบท "การดูแลแบบประคับประคองที่ผู้ดูแลทำได้ในช่วงที่มีไข้"

ขอให้พ่อแม่และลูกของคุณ สามารถจัดการกับการเป็นไข้ได้อย่างดี

 

คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง

อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024