ภาวะไข้มีความอันตรายอย่างไร?
ภาวะที่มีอุณหภูมิในร่างกายสูง (มีไข้) ที่เกิดขึ้นเองนั้น ส่วนใหญ่เกิดอันตรายได้น้อยมาก และเพื่อทำทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น National Health Service (NHS) ได้มีมาตรฐานเพื่อช่วยอธิบายเรื่องนี้ได้อย่างดี ดังต่อไปนี้
อันตรายจากไข้จะเกิดขึ้นเมื่อไรได้บ้าง?
- เมื่อศูนย์กลางของการควบคุมอุณหภูมิในสมองเองได้รับความเสียหายหรือบาดเจ็บ ตัวอย่างเช่น การขาดออกซิเจน หรืออาการบาดเจ็บที่สมองที่พึ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้
- เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ช่วงไตรมาสสุดท้าย และช่วงทารกแรกเกิดหลังคลอด
- เมื่อทารกอายุ 0-6 เดือน โดยปกติ ไข้จะไม่เป็นอันตราย แต่อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ควรจะต้องทราบว่าอุณหภูมิของการเป็นไข้ ขึ้นกับภาวะและความรุนแรงของโรคประจำตัวของเด็ก ดังนั้น ในกรณีที่ทารกอายุไม่เกิน 3 เดือนแล้วมีอุณหภูมิร่างกายสูง 38 องศา และในกรณีที่เด็กอายุ 3-6 เดือน แล้วมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38.5 องศา ควรจะต้องปรึกษาแพทย์
- ในกรณีที่หัวใจของบุคคลนั้นไม่สามารถทำงานได้ปกติ เนื่องจากเป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรง ซึ่งไม่ใช่กรณีในคนที่มีสุขภาพดี
- ความผิดปกติในการนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ซึ่งเป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบได้ยากมาก (ความผิดปกติของ Ion channel เช่น โรค Brugada syndrome) ซึ่งภาวะนี้อาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ดังนั้น จึงต้องแยกความแตกต่างให้ได้อย่างชัดเจนว่า ไข้ที่เกิดจากตัวเองนั้นจะอยู่ภายใต้การควบคุมที่เหมาะสม ซึ่งไม่เกิดอันตราย กับไข้ที่มีสาเหตุจากโรคประจำตัวนั้นจะทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายได้ ตารางนี้จะช่วยเพื่อประเมินความแตกต่าง
ความเสี่ยงต่ำ เด็กสามารถรักษาที่บ้านได้เป็นเวลา 3 วัน ควรประเมินอาการอีกครั้งหากแย่ลง หรือประเมินหลังจาก 24 ชั่วโมง |
ความเสี่ยงปานกลาง ควรสังเกตและดูแลเด็กที่บ้านอย่างระมัดระวัง ควรประเมินอาการอีกครั้งหากอาการของแย่ลง หรือประเมินหลังจาก 6-12 ชั่วโมง ควรพาเด็กไปพบแพทย์ |
ความเสี่ยงสูง อาการรุนแรง ควรพาไปพบแพทย์ทันที |
|
---|---|---|---|
สีผิว |
ีผิวหนัง ปากและลิ้นปกติ |
เริ่มซีด |
ผิวซีดมาก มีผื่นจุดแดงเลือดออก ผิวเป็นจุดด่าง ผิวสีน้ำเงินหรือเทา ตัวเขียว |
กิจกรรมต่าง ๆ |
การตอบสนองปกติต่อสิ่งเร้า ยิ้มได้ ตื่นตัว เรียกปลุกได้ง่าย ร้องไห้ปกติ ร้องไห้มากหรือไม่ร้องไห้ |
การตอบสนองผิดปกติต่อสิ่งเร้า อึดอัด กิจกรรมลดลง ง่วงซึม |
ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ดูไม่สบายมาก ไม่สามารถปลุกตื่นได้ หรือรู้ตัวน้อยมาก หน้ามืด อ่อนแรง ปวดหัวร้องไห้เสียงสูงไม่เหมือนปกติ หรือร้องไห้ต่อเนื่อง |
การหายใจ |
การหายใจปกติ |
หายใจเร็วผิดปกติ ทารก 6-12 เดือน หายใจ 50-60/นาที เด็ก 1-6 ปี หายใจ40-50/นาที เด็ก 6-12 ปี หายใจ 30-40/นาที เด็กมากกว่า 12 ปี หายใจ 20-30/นาที หายใจมีเสียง (น้ำในปอด) เหนื่อยเล็กน้อย |
หายใจมีเสียง หายใจทางจมูก หอบเหนื่อยปานกลางถึงรุนแรง หายใจเหนื่อยมากกว่า(ระดับความเสี่ยงปานกลาง)
|
การควบคุมน้ำในร่างกาย |
ผิวตึงกระชับและดวงตาปกติ เยื่อบุตาและปากเปียกชื้น |
ความอยากอาหารและดื่มน้ำลดลง ไม่ปัสสาวะมากกว่า 6 ชั่วโมง |
ผิวและดวงตาตึงกระชับลดลง เยื่อบุตาและปากแห้ง ไม่ปัสสาวะมากกว่า 12 ชั่วโมง |
อื่น ๆ |
ไข้ ≥ 5 วัน ปวดเฉพาะที่และบวมของเนื้อเยื่อ มากกว่า 2 ซม. |
ทารก อายุ 0-3 เดือน มีไข้ ≥ 38°C ทารก อายุ 3-6 เดือน มีไข้ ≥ 39°C ผื่นจุดแดงเมื่อกด กระหม่อมโปน คอแข็ง ภาวะชักต่อเนื่อง อาการทางระบบประสาท ตะคริว อาเจียนเป็นน้ำดี ถ่ายเป็นเลือด |
จะปฏิบัติได้อย่างไร เมื่อมีไข้?
ในกรณีที่มีความเสี่ยงต่ำ
ถ้าอาการปกติดี ไม่จำเป็นต้องตรวจหรือทำหัตถการใด ๆ ให้ดูแลและสังเกตที่บ้านเป็นระยะเวลาสามวันหลังจากนี้ และไม่มีข้อบ่งชี้ในการลดไข้ ถ้าหากอาการของเด็กแย่ลง สามารถใช้แอปพลิเคชั่น FeverFriendTM และทำการประเมินอาการซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
ในกรณีที่มีความเสี่ยงปานกลาง
ภาวะของเด็กตอนนี้ ต้องการการดูแลจากพ่อแม่อย่างระมัดระวัง ซึ่งเพียงพอแล้วและไม่มีข้อบ่งชี้ในการลดไข้ เช่นกัน สามารถทำการประเมินอาการในแอปพลิเคชัน FeverFriendTM อีกครั้งภายใน 12 ชั่วโมง
หากอาการของเด็กแย่ลงในอีก 6 ถึง 12 ชั่วโมง หรืออาการของเด็กไม่ดีขึ้นหลังจากป่วยสามวัน ให้รีบติดต่อแพทย์ แต่ถ้าหากอาการปกติหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง พ่อแม่สามารถดูแลเด็กได้เองที่บ้านเองได้
ในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีภาวะฉุกเฉิน
ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยทันที
ถ้าหากพ่อแม่จำเป็นต้องติดต่อแพทย์ ให้เตรียมคำถามต่อไปนี้ เพื่อตอบคำถามแพทย์
- เด็กเป็นไข้มานานเท่าไร?
- ไข้สูงตอนไหนและสูงมากแค่ไหน?
- เด็กได้รับยาลดไข้หรือไม่?
- อัตราชีพจร อัตราการหายใจหลังจากพักแล้ว 10 นาที เป็นอย่างไร?
- เด็กรู้สึกเหนื่อยเพลีย หดหู่แค่ไหน และพ่อแม่รู้สึกว่าเด็กมีอาการป่วยหนักมากน้อยแค่ไหน?
- การรับรู้ สติของเด็กเป็นอย่างไร?
- เด็กมีผื่นหรือไม่?
- เด็กมีอาการมึนงงเมื่อไหร่และเป็นมากแค่ไหน ?
- เด็กอาเจียนหรือไม่? เด็กมีอาการท้องร่วงหรือไม่?
- ความเจ็บปวด?
- อาการอื่น ๆ (เช่น ไอ, จาม)?
- เด็กมีโรคประจำตัวหรือไม่ เคยได้รับการผ่าตัดหรือไม่?
- มีผู้ป่วยติดเชื้ออยู่ใกล้ชิดเด็กหรือไม่? คนนั้นเป็นโรคอะไร?
- เด็กทานยาอะไรอยู่หรือไม่?
- เด็กได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่? เป็นวัคซีนอะไร?
- เด็กได้เดินทางไปต่างประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่?
- เด็กแพ้อะไรหรือไม่?
อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024
คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง