ความเชื่อมโยงระหว่างไข้และปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์)

อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจำนวนของปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน

โดยประมาณ600 ล้านปีของวิวัฒนาการ ได้ “ขัดเกลา” กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เพื่อพัฒนากระบบการควบคุมอย่างซับซ้อนที่จะประสานไข้เข้ากับร่างกายทั้งหมดที่ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง(149) สิ่งนี้ถูกนำมาโดยกระบวนการวิวัฒนาการที่มีมาอย่างยาวนาน ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ที่บทความ “ The Meaning and Evolution of Fever” 

ไข้กระตุ้นปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันผ่านกลไกดังต่อไปนี้

  1. ผลจากอุณหภูมิ
  2. สารภูมิคุ้มกันในสารน้ำของร่างกาย
  3. ผ่านกระบวนการระดับเซลล์ทั้งหลายต่อไปนี้:
  • โดยการกระตุ้นการเพิ่มจำนวนและการโตเต็มที่ของเม็ดเลือดขาว
  • โดยการกระตุ้นการเคลื่อนไหว การย้ายที่ กระบวนการกินเชื้อโรค การดูดสารเข้าเซลล์ ของเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil และชนิด monocyte, a4integrins (148)
  • กิจกรรมของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์ชนิด T cell จะทำงานได้รวดเร็วขึ้น และเติบโตได้เร็วขึ้น (ความสามารถในการทำลายเซลล์สูงขึ้น)
  • เร่งการผลิตสารภูมิต้านทาน
  • เร่งกระบวนการที่นำเสนอสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเซลล์ชนิด dendritic
  • นำเสนอสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์ชนิด T cell พร้อมๆกับเคลื่อนย้ายไปที่ต่อมน้ำเหลือง (FAK-RhoA, 148)

NF-kB และ โปรตีน A20 ซึ่งกระตุ้นนาฬิกาของเซลล์ภูมิคุ้มกันและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

กิจกรรมของโปรตีนฮีทช็อค (heat shock proteins) ตัวอย่างเช่น โปรตีนฮีทช็อค 90 และ a4 integrins มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกิจกรรมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์ชนิด T cell

มันเป็นไปได้ว่าเมื่อผ่านกลไกนี้  ไข้จะเพิ่มผลการต้านทานแบคทีเรียของยาต้านจุลชีพ (7-10) ดังนั้นเมื่อมีข้อบ่งชี้ให้ยาต้านไวรัสและต้านแบคทีเรีย มันมีแนวโน้มที่ประสิทธิภาพจะมากขึ้นถ้าผู้ป่วยมีไข้สูงในระดับที่เหมาะสม

 

นั่นหมายความว่าการลดไข้เป็นประจำโดยปราศจากข้อบ่งชี้ทางคลินิกที่ชัดเจนหรือการยับยั้งปฏิกิริยาที่เกิดจากไข้เพียงเพื่อความสะดวกสบาย จะทำให้เกิดการกดกลไกของภูมิคุ้มกันเหล่านี้

การให้ยาต้านจุลชีพสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะทั่วไปที่ปกติดี ไม่มีข้อบ่งชี้การให้เป็นเวลา 3 วัน (124)

สารก่อให้เกิดไข้:

1. สารก่อไข้จากภายนอก (สิ่งเหล่านี้ยังกระตุ้นการผลิตสารก่อไข้จากภายในระหว่างที่ติดเชื้อ)

  • สารพิษ endotoxin ชนิด gram negative
  • สารพิษ G positive
  • สารเกี่ยวกับการติดเชื้ออื่น

2. สารก่อนไข้จากภายใน

  • ไซโตไคน์ (cytokines): IL-1α, IL-1β, IL-6, IL-11, TNF- α, IFN- α,- β and γ, oncostatin M, LIF, prostaglandins
  • สารทั้งหลายนี้ถูกผลิตโดยเซลล์หลากหลายชนิด โดยเฉพาะ monocytes และ macrophages, mesangial cells, keratinocytes และเซลล์เยื่อบุอื่น ณ จุดที่มีการติดเชื้อ
  • สิ่งเหล่านี้กระตุ้นจุด set point ของอุณหภูมิให้สูงขึ้นเมื่อไปถึง hypothalamus

การตอบสนองหลายอย่างในสารน้ำของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงสามารถตรวจพบได้ระหว่างการติดเชื้อ (135);

การตอบสนองเฉียบพลันในเชิงบวก: procalcitonin (PCT), C-reactive protein, complements, cytokines, coagulation proteins, alpha-1 antitrypsin, alpha-1-chymotrypsin, haptoglobin, haemopexin, ceruloplasmin, ferritin, cytokines

การตอบสนองเฉียบพลันในเชิงลบ: albumin, transferrin, serum iron, fibronectin

เนื่องจากระดับเหล็กในซีรั่มจะถูกตรวจพบว่าต่ำในระหว่างที่มีการติดเชื้อ ซึ่งในกรณีนี้ผลมักจะผิดพลาดหากได้รับการรับประทานเหล็กทดแทน  เราจึงไม่แนะนำให้รับประทานเหล็กเป็นประจำสำหรับ 2 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน หากไม่อย่างนั้นก็ต้องประเมินภายหลังโดยขึ้นอยู่กับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

คุณสามารถหาเอกสารอ้างอิงตามตัวเลขอ้างอิงได้ที่นี่: เอกสารอ้างอิง

 

อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024

 

คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง