คำอธิบายของกระบวนการทางสรีรวิทยาของไข้

ไข้เป็นกระบวนการตอบสนองอย่างมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่เป็นกลไกปกป้องร่างกายที่มีวิวัฒนาการที่ถูกควบคุมอย่างซับซ้อน มีเป้าหมายที่แม่นยำ มีความละเอียดอ่อนประณีตของร่างกายมนุษย์ที่ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการรักษาและการอยู่รอดของคนผู้นั้น.

ไข้ไม่ได้ปกป้องร่างกายแต่เพียงกระบวนการเดียว แต่ร่วมกับกระบวนการอื่นๆ อีกมากมาย

สำหรับระบบป้องกันในระยะยาวเช่นนี้, ร่างกายยอมรับอย่างตั้งใจกับข้อเสียเปรียบเล็กน้อยนี้อย่างชั่วคราว. เช่นเดียวกับที่เราทำในระหว่างการออกกำลังกาย

การเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายเป็นกระบวนการที่ใช้สารน้ำและพลังงานเป็นจำนวนมาก การที่มีอุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสต้องเพิ่มการเผาผลาญขึ้น 10-12% และมีความต้องการสารน้ำเพิ่มขึ้น 15-20% (2)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมในบท “ประโยชน์ของไข้”

แม้ว่าในทางปฏิบัติจะยังไม่ได้ดำเนินการในหลายๆ แห่ง(16) ; มีข้อตกลงทั่วไปว่าศักยภาพที่เป็นประโยชน์ของไข้จะต้องมีการชั่งน้ำหนักกับผลกระทบที่ทำให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรงเล็กน้อยและรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย(17, 123)

 

นิยามของไข้

ที่น่าสนใจคือ ไข้ไม่มีคำจำกัดความที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เมื่อได้มีการทบทวนระเบียบการทางวิชาชีพอย่างเป็นทางการใน 150 ประเทศพบว่าแนวคิดเรื่องไข้ไม่เหมือนกัน

ดังนั้นบางประเทศเช่นญี่ปุ่นจึงพูดถึงไข้อยู่แล้วเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส. ในความเป็นจริงอุณหภูมิตอนเช้าทางทวารหนักจะพิจารณาว่าเป็นอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้นเมื่อสูงกว่า 37.2 องศาเซลเซียสและในช่วงเย็นอุณหภูมิสูงกว่า 37.7 องศาเซลเซียส (20). สมาคมกุมารแพทย์เยอรมันได้นิยามว่า มีภาวะไข้ขึ้น เมื่อ อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส. อุณหภูมิระหว่าง 37.5 ถึง 38.5 องศาเซลเซียสถูกเรียกว่า "ภาวะร่างกายอุณหภูมิสูง". โปรโตคอลจำนวนมากเรียกว่า “มีไข้” อยู่แล้วเมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงกว่า 38.0 องศาเซลเซียส(17, 21-35)

 

คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบัน (123):

สำหรับค่าที่วัดได้ใต้วงแขน (อุณหภูมิใต้รักแร้) (โดยไม่ต้องลบหรือบวกเพิ่ม):

อุณหภูมิร่างกายปกติ 36-37°C

อุณหภูมิร่างกาย 37-38°C เป็นภาวะอุณหภูมิร่างกายสูง (ภาวะก่อนมีไข้)

ภาวะมีไข้ปานกลาง 38-39°C

ภาวะไข้สูง 39-40.5 องศาเซลเซียส

สูงกว่า 40.5 องศาเซลเซียส ภาวะไข้สูงมาก

 

สำหรับค่าอุณหภูมิร่างกายทางทวารหนักจะสูงกว่าครึ่งองศา (โดยไม่ต้องลบหรือบวกเพิ่ม):

อุณหภูมิร่างกายปกติ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิร่างกาย 37.5 – 38.5 °C เป็นภาวะอุณหภูมิร่างกายสูง (ภาวะก่อนมีไข้)

ภาวะมีไข้ปานกลาง 38.5-39.5 องศาเซลเซียส

ภาวะไข้สูง 39.5-41°C

สูงกว่า 41°C ภาวะมีไข้สูงมาก

 

การมีไข้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ไข้เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายผลิตความร้อนเพิ่มขึ้นและลดการกระจายความร้อนในเวลาเดียวกัน

สาเหตุแรกเกิดจากการเร่งการเผาผลาญพลังงานของกล้ามเนื้อ ส่วนหลังเกิดจากการที่เลือดไหลเวียนไปที่ผิวหนังลดลง. ในขั้นแรก เมื่อมีไข้ขึ้น จะทำให้เด็กมีอาการหน้าซีด ตัวสั่น และผิวหนังจะเย็น. ในสถานการณ์ที่เป็นไข้มากที่สุดจะมีอาการหนาวสั่นหรือสั่นกระตุกของกล้ามเนื้อขึ้นมาจริงๆ. ภาวะนี้จะคงอยู่จนกว่าไข้จะขึ้นจนถึงจุดที่ร่างกายกำหนดไว้

 

อะไรทำให้เกิดปฏิกิริยาไข้? เราตอบสนองต่ออะไรเมื่อมีไข้?

มีเหตุผลหลายประการสำหรับเรื่องนี้

1) สาเหตุทางกายภาพ:

  • ไข้หวัด 
  • การติดเชื้อ (ไวรัสและ/หรือแบคทีเรีย, เชื้อโรคอื่นๆ)
  • การงอกของฟัน (โดยเฉพาะในช่วงที่ฟันหน้าขึ้นเมื่ออายุ 6 ถึง 8 เดือน)
  • การออกกำลังกายหักโหม
  • โรคลมแดด ภาวะเป็นลมแดด
  • การได้รับสารพิษ

2) เหตุผลทางจิตใจ-สังคม:

ในเด็ก ประสบการณ์ทั้งด้านบวกและด้านลบสามารถทำให้ร่างกายอุณหภูมิสูงขึ้นได้. ตัวอย่างเช่น การเตรียมตัวสำหรับเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น งานเลี้ยงวันเกิด การเดินทางไกล การทะเลาะวิวาทกันในครอบครัวหรือความบอบช้ำทางจิตใจ

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของไวรัสและแบคทีเรียคือ 33-35 องศาเซลเซียส ซึ่งหมายถึงอาการหนาวเย็นของร่างกายมนุษย์. จากมุมมองนี้เช่นกัน เราพูดถึง "อาการหนาวเย็นหรืออาการหนาวสั่น" อย่างแท้จริง

ดังนั้นจึงมีภาวะไข้ที่เหมาะสมที่สุด (โดยปกติคือ 38-40 องศาเซลเซียส) ที่ซึ่งร่างกายมีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โดยการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคมีการแพร่พันธุ์และมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมาด้วย. 

เกี่ยวกับเส้นทางของการเป็นไข้และระยะของไข้ ให้ดูรายการแยกกัน

คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง

อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024