การวัดไข้
ตำแหน่งและวิธีการที่ใช้วัดความร้อนของร่างกายสามารถนำไปสู่ความไม่ถูกต้องและข้อผิดพลาดเป็นผลลัพธ์ที่ตามมาได้บ่อยและมีโอกาสที่จะเกิดได้สูง (131)
ดังนั้น,นี่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะรู้ว่าเราจะวัดอะไร และที่ไหนจริงๆ
ดังนั้น,นี่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะรู้ว่าเราวัดอะไรและที่ไหนจริงๆ
อุณหภูมิแท้จริงของร่างกาย [เรียกว่า อุณหภูมิแกนกลาง ( central temperature) หรืออุณหภูมิแก่นกลาง (Core temperature)] ซึ่งจะสอดคล้องกับการวัดที่มีคุณภาพที่ปาก,หู หรือที่ทวารหนัก
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล (digital thermometer) ที่หาได้ส่วนใหญ่ฮังการี ที่ผ่านการสอบเทียบแล้วจะวัดอุณหภูมิที่แสดงออกมาได้อย่างแม่นยำที่รักแร้ (โดยต่ำกว่าครึ่งองศาเซลเซียสของอุณหภูมิแกนกลาง)
เมื่อเราทำการวัดด้วยเครื่องนี้ที่ใต้ลิ้นหรือทวารหนัก, อุณหภูมิที่ได้สูงกว่าครึ่งองศาเซลเซียส จึงระบุว่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัลมีความแม่น ที่ ± 0.5 ถึง 1 องศาเซลเซียส เรื่องราคาของเครื่องวัดอุณหภูมิก็ไม่จำเป็นที่จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความแม่นยำ
ข้อมูลใน เครื่องวัดอุณหภูมิที่หู (ear measurement) เป็นอุปกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แค่ข้อมูลเท่านั้น, เพราะเกลียวเซ็นเซอร์อุณหภูมิไม่ได้ห่อหุ้มร่างกายทั้งหมด, ดังนั้นคุณภาพที่ได้รับมีความแตกต่างในสอง
สาม องศา (128) สำหรับปัญหาอื่นๆดูจากข้างล่าง
เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอินฟราเรดทั้งแบบไม่สัมผัสผิวหนังและแบบสัมผัสผิวหนัง
(infrared non-contact and skin contact) (เช่นที่หน้าผาก) เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดนี้จะให้ แค่ข้อมูลเท่านั้น (36-39) คุณภาพการวัดไม่น่าเชื่อถือ จากการเบี่ยงเบนจากอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายจริง มันให้ผลลวง ทั้งต่ำกว่าหรือแม้แต่สูงกว่าอุณหภูมิร่างกายจริง ชนิดของผิว, การหลั่งเหงื่อ และความกว้างของเส้นเลือดที่ผิวหนัง ล้วนมีแต่ผลให้ค่าที่วัดได้บิดเบือนไป
ส่วนใหญ่ที่น่าเชื่อถือได้คือเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดแก้วแบบคลาสสิก (classic glass thermometers)
ซึ่งบรรจุเส้นใยเงินแกลเลี่ยม (เงินใช้แทนปรอท) หรือแอลกอฮอล์ (ชนิดสีแดงหรือสีน้ำเงิน) ความแม่นยำ
ที่ได้ ± 0.2 องศาเซลเซียส และปรับเทียบได้แม่นยำ
บางคนมีความยากลำบากในการเขย่าให้สิ่งทดแทนปรอทลงไป : เส้นล่างนี้เป็นเครื่องมือที่บอกว่าไม่ต้องเขย่าแล้วแทนที่เรา ควรจะวางไว้ในช่อง 1-2 นาที หลังจากใช้วัดแล้ว บนแท็งก์และทำการปั่นไม่กี่นาที ให้มีแรงเหวี่ยงออกทำให้เส้นใยนี้ลงสู่ข้างล่าง
เครื่องวัดอุณหภูมิที่ใช้ปรอท ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ ในตลาดของยุโรปตั้งแต่ปีค.ศ.2009 (พ.ศ. 2553) เราไม่แนะนำให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิที่บรรจุแร่ปรอท เมื่อมันแตกไอปรอทจะก่อให้เกิดพิษได้
อะไรคือปกติและอะไรคืออุณหภูมิกายที่เพิ่มขึ้น?
ค่าการวัดที่ผ่านการประเมินจากคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ (123)
สำหรับค่าที่วัดอุณหภูมิจากรักแร้ (axillary temperature) (โดยปราศจากค่าบวกลบ)
36 - 37 °C อุณหภูมิกายปกติ
37 - 38 °C อุณหภูมิขึ้น
38 - 39 °C ไข้ปานกลาง
39 – 40.5 °C ไข้สูง
มากกว่า 40.5 °C ไข้สูงมาก
สำหรับค่าที่วัดจากทวารหนัก ซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าครึ่งองศา (โดยปราศจากค่าบวกลบ)
36.5 - 37.5 °C อุณหภูมิกายปกติ
37.5 - 38.5 °C อุณหภูมิขึ้น
38.5 - 39.5 °C ไข้ปานกลาง
39.5 - 41 °C ไข้สูง
มากกว่า 41 °C ไข้สูงมาก
วัดอุณหภูมิที่ไหนและอย่างไร?
ตำแหน่งที่จะวัดอุณหภูมิที่แนะนำ
ที่ทวารหนัก ใช้วัดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบปี
ที่ทวารหนัก หรือที่รักแร้ใช้วัดในเด็กที่อายุระหว่าง 1 -3ขวบปี
ที่รักแร้ ใช้วัดในเด็กที่อายุมากกว่า 3 ขวบปี
บางคำแนะนำระดับนานาชาติ มีบางแง่มุมที่แตกต่าง
การวัดอุณหภูมิในปาก (ใต้ลิ้น) เราทำการวัดอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายซึ่งค่าที่ได้จะสูงกว่า 0.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับการวัดที่รักแร้ ไม่ควรทานอาหารหรือเครื่องดื่ม แบบร้อนหรือเย็น ก่อนวัดอุณหภูมิร่างกาย 10 นาที โดยวางส่วนปลายของเครื่องวัดอุณหภูมิที่ใต้ลิ้น ด้านในต่อเนื้อฟัน วิธีนี้ควรใช้ในเด็กที่แน่ใจว่าจะไม่กัดเครื่องวัดอุณหภูมิ
ถ้าคุณใช้เครื่องวัดอุณหภูมิที่หู หากวัดอุณหภูมิที่หูทั้ง 2 ข้าง และมีข้างหนึ่งอุณหภูมิสูงกว่าอีกข้างหนึ่ง อาจเกิดจากขี้หูขนาดใหญ่, นอนทับหูข้างใดข้างหนึ่ง, รูหูอักเสบติดเชื้อ หรือหูชั้นกลางติดเชื้อ ซึ่งทำให้ค่าอุณหภูมิสูงลวง เนื่องจากการคั่งค้างความร้อนบริเวณนี้
สำหรับการวัดอุณหภูมิที่รักแร้ที่น่าเชื่อถือ, ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน แขนควรวางบนอกและปลายเครื่องวัดอุณหภูมิ ควรวางในรักแร้ 3 นาที ค่าที่วัดได้บวกเพิ่ม 0.5 องศาเซลเซียส จะได้อุณหภูมิแกนกลาง
การวัดอุณหภูมิที่ทวารหนัก เป็นวิธีที่มีความน่าเชื่อถือที่สุด อารมณ์และท่าทางที่สงบเป็นสิ่งสำคัญ การวัดควรทาสารหล่อลื่นที่เครื่องวัดอุณหภูมิ และควรทำอย่างนุ่มนวล การสอดเครื่องวัดอุณหภูมิควรสอดลึก 1.5 เซนติเมตร แล้วอยู่นิ่งเป็นเวลา 3 นาที
อุณหภูมิร่างกายมีปัจจัยที่มีอิทธิพล, คล้ายกับการแกว่ง ไปมาประจำวันที่ปกติ, ในเวลาเช้าจะมีอุณหภูมิกายต่ำกว่าเวลาเย็น 0.5 -1 องศาเซลเซียส แต่ในเด็กทารกและผู้สูงอายุ, อุณหภูมิ 37.7 องศาเซลเซียส ในเวลาเช้า ที่พิจารณาว่าเป็นอุณหภูมิขึ้น แต่ไม่ใช่ในเวลาเย็น ความผันผวนของอุณหภูมิกาย จะอยู่ที่ 0.5 - 1.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกายนี้จะต่ำสุดเมื่อเวลา 1.00 - 4.00 น. และจะขึ้นสูงสุดเวลา 16.00 - 19.00 น.
เราควรวัดอุณหภูมิกี่ครั้งในหนึ่งวัน?
การวัด 3 ครั้งต่อวันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
การวัดอุณหภูมิสามารถวัดได้ถี่ขึ้นกว่านี้ ในเด็กและเด็กเล็ก เมื่ออาการทั่วไปดูไม่ดี
ถ้าหากแขนขาของเด็กยังคงเย็นและซีด, ไข้จะยังคงขึ้น และหากแขนขาเด็กยังคงอุ่นอยู่, ไข้จะไปถึงอุณหภูมิเป้าหมายได้
คุณค่าการวัดอุณหภูมิในเวลาที่แตกต่างกันของวัน และการบันทึกความผันผวนของอุณหภูมิประจำวันอย่างเหมาะสม ความร้อนของร่างกายในเวลาเย็นจะสูงกว่า และมันจะลดต่ำลงตอนรุ่งเช้า
ไม่ควรรบกวนเด็กที่หลับอย่างสงบด้วยการวัดอุณหภูมิ
คุณสามารถหาเอกสารอ้างอิงตามเลขที่อ้างอิงได้ที่นี่ : เอกสารอ้างอิง
ฉบับล่าสุด 29 พฤศจิกายน 2563
อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024
คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง