การเกิดไข้ในระยะต่างๆตามธรรมชาติที่เหมาะสมที่สุด

คำจำกัดความของการเกิดไข้ที่ "เหมาะสมที่สุด หรือ optimal fever" หมายถึง การเป็นไข้ปกติหรือไข้ตามธรรมชาติ ซึ่งมีการดำเนินโรคเป็นระยะ และสามารถจำแนกได้

กล่าวคือ ทุกระยะของไข้เกิดขึ้นอย่างไม่ซับซ้อนและดำเนินไปตามปกติตามสาเหตุของการเกิดไข้นั้น ดูได้จากรูปแบบเส้นโค้งอุณหภูมิร่างกายขณะมีไข้  ซึ่งเราสามารอนุมานสาเหตุของการมีไข้บางประการได้: อย่างในกรณีเจ็บป่วย การติดเชื้อ เช่น ไข้อีดำอีแดงที่มีไข้สูง 5 วัน หรือไข้สามวัน

รูปแบบเส้นโค้งอุณหภูมิร่างกายขณะมีไข้ ทั่วไป มี 4 ระยะ ที่คล้ายกัน:

  1. ระยะไข้ขึ้น
  2. จุดสูงสุดของการเป็นไข้
  3. จุดเริ่มต้นของการลดลง
  4. Normalization: จุดสิ้นสุดของการลดลง

 

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร?

 

1) ในระยะไข้ขึ้น

การผลิตความร้อนเพิ่มขึ้น: กล้ามเนื้อตึงตัว อาจมีอาการตัวสั่น หนาวสั่น และกล้ามเนื้อสั่นเกร็งร่วมด้วย

การกักเก็บความร้อนเพิ่มขึ้น: หลอดเลือดขนาดเล็กที่ผิวหนังหดตัว ลดการระบายความร้อนจากร่างกาย (การแผ่รังสีความร้อน) มือและเท้าเย็น หน้าซีด การขับเหงื่อลดลง การระเหยของเหงื่อก็

ลดลงด้วย

การสิ้นสุดของระยะนี้ มักจะทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวมากที่สุด และอาจมาพร้อมกับอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเมื่อยล้าเจ็บปวดตามร่างกาย

“ไม่ต้องกังวล อีกไม่นานไข้จะผ่านเข้าสู่ระยะถัดไปที่ทนได้!”

 

2) ในช่วงพีค จุดสูงสุดของการเป็นไข้

การผลิตความร้อนและการกระจายความร้อนอยู่ในสมดุล เนื่องจากร่างกายได้ไปถึงเป้าหมายแล้ว ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดและเป็นจุด set-point ที่ตั้งไว้

ร่างกายจะผลิตความร้อนลดลง

แต่การกระจายความร้อนเพิ่มขึ้น: เมื่ออุณหภูมิของเลือด (ซึ่งเป็นอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย) ได้ไหลผ่านศูนย์ควบคุมอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอแล้ว สัญญาณของศูนย์ทำความเย็นจะเริ่มขยายหลอดเลือดที่ผิวหนัง (พร้อมกับเริ่มสังเกตเห็นใบหน้าแดงระเรื่อ) ตอนนี้อุณหภูมิของผิวหนังจะสูงขึ้นอีกครั้ง ผิวหนังและแขนขาจะอุ่นขึ้น

ระยะนี้เด็กๆ จะสามารถทนต่อการเป็นไข้ได้อย่างดี พวกเขามักจะหลับใหลถึงแม้จะยังฝันร้ายอยู่บ้างก็ตาม

 

3) ในระยะเริ่มต้นของการลดลง

หลังจากร่างกายมีอุณหภูมิความร้อนในร่างกายเป็นระยะเวลาที่เพียงพอแล้ว (โดยปกติ 2-3ชั่วโมง) เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองได้อย่างเต็มที่และเหมาะสม ร่างกายจะเริ่ม "พักผ่อน" และลดการผลิตความร้อนลงอีก

แต่การกระจายความร้อนจะเพิ่มขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงไป  คือส่วนใหญ่(มากถึง 75 เปอร์เซ็นต์) จะระเหยกลายเป็นไอ สังเกตว่าเหงื่อจะออกมากยิ่งขึ้น แต่เด็กทารกและเด็กวัยหัดเดินเหงื่อจะไม่ค่อยออก ไม่เหมือนกับเด็กโต

 

4) เมื่อถึงจุดสิ้นสุดการลดลง normalization จุดที่อุณหภูมิร่างกายกลับเป็นปกติ

  • การทำงานของศูนย์ควบคุมอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
  • การกระจายความร้อนลดลง
  • เกิดการสร้างความสมดุลของอุณหภูมิปกติใหม่
  • 4 ขั้นตอนนี้อาจทำซ้ำเป็นจังหวะในเวลา 2-3 วัน
  • หลังจากนี้ในขณะที่ร่างกายฟื้นตัว อุณหภูมิร่างกายอาจจะลดลงเล็กน้อยใน 2-3 วัน
  • ความสูงของไข้ไม่ได้เป็บสัดส่วนกับความรุนแรงทางพยาธิวิทยาที่เกิดขึ้น

 

ซึ่งหมายความว่าความสูงของไข้ในตัวของมันเอง ไม่ได้บ่งบอกถึงการเจ็บป่วยที่รุนแรง (ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน) ไวรัสตัวเดียวกันอาจทำให้เด็กคนเดียวกันมีไข้สูงมากในคราวนี้  แต่ในบางคราวไม่มีไข้เลย ส่วนไข้ที่ต่ำอาจอำพรางความเจ็บป่วยที่ต้องดำเนินการรักษาอย่างจริงจัง (เช่น ภาวะกรายไตอักเสบ); แต่การงอกของฟันตามปกติกลับทำให้เด็กมีไข้สูงมากได้ 

เราจะพูดถึงรายละเอียดเหล่านี้ในบท "อาการที่มาพร้อมกับไข้" และ "ภาวะไข้มีอันตรายเพียงใด"

หากเราขัดขวางการเป็นไข้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (เช่น การใช้ยาลดไข้) เรากำลังแทรกแซงการรักษาตัวเองตามธรรมชาติที่เหมาะสมที่สุด ที่เรากำลังพูดถึง ไม่ใช่ว่าให้เด็ก “ไม่มีไข้” แต่ร่างกายของเขาต่างหากที่พยายามทำให้เกิดไข้ – เพราะมันจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับรักษาความเจ็บป่วย – แต่เรากลับเข้าไปยุ่ง ดังนั้นถ้าเราลดไข้ของใครซักคนด้วยยา ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะหายดีหรือมีสุขภาพแข็งแรง

 

อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024

 

คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง