ไข้ลดและช่วงเวลาหลังจากไข้ลด

เมื่อไรที่ไข้ลด

เมื่อไรที่เด็กกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง

เมื่อไรที่เด็กสามารถกลับเข้ารวมกลุ่มได้อีกครั้ง

 

จะพิจารณาได้ว่าเด็กกลับมาแข็งแรงเมื่ออาการต่างๆลดลง และเข้าสู่ระยะฟื้นฟู ในกรณีของการติดเชื้อทั่วไปที่มีไข้ร่วมด้วย มักจะหลังจากไข้ลดลงแล้ว 1-2 วัน

ในระยะพ้กฟื้น เด็กๆจะยังคงอ่อนเพลีย ซีดเซียว เหงื่อออกง่าย และดูหงุดหงิด ในช่วงเช้าอาจจะให้น้ำผึ้งผสมมะนาวอุ่นๆ ระหว่างวันให้ชาเซจ(Sage)หรือสะระแหน่อ่อนๆ ช่วงเย็นอาจให้ชาlinden tree(ไม่มีคำแปลในภาษาไทย เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีเหลืองชนิดหนึ่ง) ชาดอกเอลเดอร์( Elder flower tea) หรือชาดอกคาร์โมมายด์( Chamomile tea) การใส่เสื้ผ้าให้อบอุ่นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อไม่ให้เด็กกลับมาเป็นหวัดเร็วเกินไป ค่อยๆให้กลับมาทำกิจกรรมต่างๆทีละน้อย

ปกติแล้วจะสังเกตุได้ว่าสิ้นสุดระยะพักฟื้นแล้วเมื่อเด็กกลับมากระตือรือร้น คล่องแคล่ว และแก้มมีเลือดฝาด อยากอาหาร สนุกสนานร่าเริง และมีความอยากจะทำสิ่งต่างๆ

เมื่อมาถึงระยะนี้แล้วโดยทั่วไปควรจะให้นอนพักต่ออีก 1 วันซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็น จึงสามารถกลับไปอยู่ร่วมกับเพื่อนๆได้ ในกรณีเด็กที่ได้รับยา เช่นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียยังไม่ควรรีบกลับไปอยู่ร่วมกับผู้คน เด็กที่ป่วยค่อนข้างมากจนต้องได้รับยาเชื้อแบคทีเรียยังคงมีความจำเป็นที่ต้องอยู่บ้านเพื่อพักผ่อน เด็กที่ไข้ลงแล้วก็จะไม่แพร่เชื้ออีกต่อไป อย่างไรก็ตามในโรงเรียนอนุบาลเด็กอาจจะติดเชื้อจากเด็กคนอื่นได้ภายในเวลาเพียง 2-3 วัน ซื่งเป็นเรื่องปกติในเนอสเซอรี โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม หรือในกรณีที่เด็กมีลูกพี่ลูกน้องหลายคน

จากมุมมองนี้อาจพิจารณาได้ว่าโรงเรียนอนุบาลเป็นสถานที่ฝึกภูมิคุ้มกัน “immunological gym” เด็กจะได้ฝึกผ่านสิ่งต่างๆทีละเล็กละน้อย และเมื่อเวลาผ่านไปเข้าสู่วัยประถม ชีวิตจะดำเนินไปโดยที่จะมีไข้น้อยลงและค่อยๆหายไป

ในเนอสเซอรีอาจจะเป็นสถานที่ที่ยากกว่าเล็กน้อย เนื่องจากเด็กยังเล็กกว่า ตอบสนองง่ายกว่า และหายช้ากว่า และบางครั้งอาการอาจจะซับซ้อนมากกว่า

หลังจากผ่านความอดทนกับอาการป่วยที่มีไข้ร่วมด้วย บางครั้งพบว่าเด็กๆมีคุณสมบัติหรือทักษะใหม่ๆเกิดขึ้นยกตัวอย่างเช่น เขาอาจจะคุยเก่งขึ้น มีความกลัวน้อยลง นอนหลับได้ดีขึ้น หรืออยากอาหารมากขึ้น และมีบางสิ่งบางอย่างดีขึ้นกว่าแต่ก่อน นี่เป็นสัญญานว่าโรคที่เขาต้องอดทนทำให้เขาแข็งแรงและเข้มแข็งขึ้น หรืออาจจะพูดได้ว่าเด็กที่ผ่านวิกฤตได้รับบางสิ่งบางอย่างจากมัน

 

เราจะป้องกันการติดเชื้อร่วมกับไข้ครั้งใหม่ได้อย่างไร

โดยการที่อนุญาติให้ได้รับโอกาสการติดเชื้อทั่วๆไป ซึ่งเป็นประสบการณ์ธรรมดาที่หลังจากได้เจ็บป่วยที่มีไข้ร่วมด้วย( แม้แต่จะมีไข้สูงด้วยก็ตาม) ไปจำนวนหนึ่ง จะมีช่วงพักที่ยาวนานขึ้น ความเจ็บป่วยจะถี่น้อยลง อาการรุนแรงลดลง และหายเร็วขึ้น

 

ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ในกรณีที่เป็นซ้ำ ถ้า

  • ไข้กลับมาเป็นซ้ำภายใน 3 สัปดาห์และไข้สูงกว่า 38.6 องศาเซลเซียสต่อเนื่องนานกว่า 2-3 วัน
  • ถ้าเด็กได้เคยมีการเดินทางไปต่างประเทศที่ห่างไกลในปีที่ผ่านมา
  • ถ้าเป็นโรคติดเชื้อที่มีไข้ร่วมด้วยมากกว่า 10-12 ครั้ง/ปี และมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อน

เด็กในวัยเริ่มหัดเดินที่อยู่ในชุมชน ได้ไปสระว่ายน้ำ หรืออยู่ในครอบครัวใหญ่อาจจะเจ็บป่วยแบบมีไข้ได้บ่อยขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 10-12 ครั้ง/ปี

 

คุณสามารถหาข้อมูลตัวเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้จากที่นี่

คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง

อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024