ไข้และปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน

อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก ระบบภูมิคุ้มกันก็จะเกิดการตอบสนองที่เพิ่มขึ้น โดยระบบภูมิคุ้มกันจะหลั่งสารเคมีเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นสารเหล่านี้จะเดินทางไปยังศูนย์สั่งการความร้อนที่สมองเพื่อทำการปรับอุณหภูมิของร่างกาย (ภาวะปกติ 37°C/98.6°F)

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีการควบคุมอย่างสมบูรณ์แบบระหว่างระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท และการผลิตความร้อน

กลไกการป้องกันของภูมิคุ้มกันที่สำคัญของร่างกายหลายอย่างจะทำงานเมื่อมีไข้เท่านั้น ไข้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันในระบบภูมิคุ้มกัน (11,148) ด้วยวิธีนี้มันยังหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรคอีกด้วย ในกรณีของการติดเชื้อที่รุนแรงอัตราการรอดตายแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการพัฒนาของไข้ (12-14, 55, 86,150) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของร่างกายแม้เพียง 1-4 องศาเซลเซียสจะช่วยต่อสู้กับการติดเชื้ออย่างมาก (149)

ในเวลาเดียวกัน ไข้จะปกป้องเซลล์ของร่างกายจากแอนติบอดีป้องกันที่ปล่อยออกมาจากเซลล์ภูมิคุ้มกัน 

 ร่างกายก็จะปกป้องโปรตีนของตนเอง(โดยเพิ่มความไวต่อความร้อน) ซึ่งเกิดจากผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินี้ (148) ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Heat shock proteins 

ด้วยวิธีนี้ ร่างกายจะควบคุมด้วยความแม่นยำ เพื่อสร้างสมดุลที่ดีที่สุดระหว่างข้อดีและข้อเสียของไข้ 

 

ไข้ทำงานอย่างไร?

เมื่อคนเป็นไข้ หลายส่วนของระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานมากขึ้นโดย

  1. ความร้อนจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยตรง (9).
  2. ระบบภูมิคุ้มกันจะเพิ่มการผลิตแอนติบอดีทำให้เชื้อโรคถูกทำลายง่ายขึ้น (10)
  3. เกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของเซลล์ (11, 148). มีผลให้การเพิ่มจำนวน, การพัฒนาของเซลล์ และกิจกรรมของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เซลล์ภูมิคุ้มกันจะมีการเคลื่อนเร็วขึ้น ความสามารถในการดูดซับไวรัส แบคทีเรีย การผลิตแอนติบอดีที่มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลอดจนเผยความเป็นแอนติเจนเร็วขึ้นเพื่อการทำลายและกำจัด ในเศษซากที่ถูกกำจัดแล้วก็จะถูกส่งไปยังทางเดินน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลืองเร็วขึ้น

เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น

หากเรายับยั้งหรือลดไข้ เราก็จะทำให้กลไกเหล่านี้ช้าลงด้วย

 

อย่างไรก็ตาม หากเด็กได้รับอนุญาตให้มีไข้ที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กเติบโตเต็มที่ โรคหวัดและการติดเชื้อจะน้อยลงและสั้นขึ้น

 ดังนั้นในกรณีที่พบบ่อยการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อที่พบทั่วไปอาจไม่สมเหตุสมผล เพราะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และมันอาจจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากผู้ป่วยได้รับอนุญาตให้ยังคงเป็นไข้ ซึ่งไข้จะเพิ่มผลต้านเชื้อแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะ (8-11)

 ดังนั้นการยับยั้งการไข้เป็นข้อเสียเปรียบ เราทราบมาระยะหนึ่งแล้วว่าการใช้ยาลดไข้ในโรคไวรัสอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น (6). เช่นเดียวกับภาวะเลือดเป็นพิษไม่ทราบสาเหตุ (bacteremia) และการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดที่มีการบุกอวัยวะของร่างกาย (10-14)

ในสภาวะไข้ร่างกายจะปกป้องตัวเองได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังกระตุ้นสารที่ปกป้องการทำงานของตัวเองและอวัยวะต่างๆ สิ่งเหล่านี้เรียกรวมกันว่า heat shock proteins ซึ่งจะช่วยปกป้องระบบประสาทและหัวใจ

ดังนั้น ร่างกายจึงเพิ่มอุณหภูมิ (สูงถึง 41 องศาเซลเซียส) ในขณะที่ปกป้องส่วนที่ไวต่อความร้อนของตัวเอง (อวัยวะ เอนไซม์ โปรตีน)

แม้จะมีความเชื่อและความเข้าใจผิดทั่วไปบางประการที่ว่าสมองของคนเราจะเดือด และโปรตีนของคนๆ หนึ่งจะตกตะกอน แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงนิยาย 

ในกระบวนการไข้ที่เหมาะสม ไข้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์และปกป้องเรา

 

อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024

คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง