อาการที่มาพร้อมกับไข้, การตรวจสอบและความหมาย
ที่จุดเริ่มต้นของอาการเจ็บป่วย เราสามารถสังเกตเห็นอาการที่หลากหลาย, แม้กระทั่งก่อนมีไข้
- อาการวุ่นวาย
- เอื่อยชา,เหนื่อยล้า,ง่วงนอน
- อ้อนต้องการกอด (ต้องการความใกล้ชิด)
- ไม่อยากอาหาร
- ตาแวววาว ตาแฉะ
- เซื่องซึม,ขาดความระมัดระวัง
อาการการเหล่านี้ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นปกติ พบได้ในหลายระยะของไข้
อาการที่มาพร้อมไข้
ในระยะแรกของไข้ที่ไข้กำลังขึ้น :
- ผิวซีด,ผิวกายคล้ายตาข่าย เหมือนหินอ่อน
- แขนขาเย็น และศรีษะบริเวณหน้าผากเย็น
- มีอาการสั่น,สั่นสะท้าน,กล้ามเนื้อสั่น,กล้ามเนื้อเกร็งเล็กน้อยขณะหลับ
- รู้สึกไม่สบาย,วุ่นวาย,เซื่องซึม
ในระยะที่ 2 ของไข้ ที่ไข้ขึ้นถึงจุดสูงสุด :
- หน้าแดง,แก้มแดงร้อน
- แขนขาร้อน
- ง่วงนอน
- เพ้อหลอนเนื่องจากไข้
ในระยะที่ 3 ของไข้ ที่ไข้กำลังลดลง :
- เหงื่อออก,ฝ่ามือ และฝ่าเท้าเปียก
- กระหายน้ำ
ในระยะที่ 4 ของไข้ เมื่อความร้อนของร่างกายกลับสู่ปกติ :
- กระฉับกระเฉงเพิ่มขึ้น
- มีความอยากอาหารกลับคืนมา
การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ที่เหมาะสมกับไข้
ชีพจรสามารถคลำพบได้ดีที่ด้านในของข้อมือ คลำพบว่าตื้นและกลวงในระดับต่ำกว่าฐานของนิ้วโป้ง(นิ้วหัวแม่มือ) ในกรณีของเด็กทารกและเด็กเล็กคลำที่ข้อศอก บริเวณด้านในของต้นแขน เราจะใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลาง อาจใช้นิ้วนางด้วย สัมผัสตำแหน่งที่กลางที่มีชีพจร และพยุงข้อมือของเด็กด้วยการใช้นิ้วโป้งพยุงในฝั่งตรงข้าม แล้วนับการเต้นของหัวใจ 15 วินาที นำจำนวนที่นับได้ไปคูณ 4 เราจะได้การเต้นของหัวใจ
ต่อนาที
ช่วงปกติของอัตราการเต้นของหัวใจในเด็กเมื่อพัก 10 นาทีโดยไม่มีไข้ :
อายุ |
อัตราการเต้นของหัวใจ |
ทารกแรกเกิด |
100 - 180 / นาที |
1 -11 เดือน |
90 - 160 / นาที |
1 – 2 ปี |
85 – 150 / นาที |
3 – 4 ปี |
80 – 140 / นาที |
5 – 6 ปี |
75 – 120 / นาที |
7 – 9 ปี |
70 – 110 / นาที |
10 ปีขึ้นไป |
60 – 100 / นาที |
ค่าช่วงนี้อาจเพิ่มขึ้น 5 - 25% เมื่อมีไข้ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ ,น้ำหนัก,สาเหตุของไข้เป็นต้น
อัลกอริทึมของโปรแกรมแอพพลิเคชั่นนี้ ได้รวมปัจจัยต่างๆได้เพื่อการพิจารณา
ในกรณีนี้ใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่น
อัตราการหายใจ (Respiratory rate)
นกรณีไข้, การหายใจจะเพิ่มขึ้นกับอัตราการเต้นของหัวใจ
สำหรับการวัดอัตราการหายใจ : ใช้การดู การฟัง ที่สังเกตได้
สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของอกและท้อง (อาจเห็นการเคลื่อนไหวของปีกจมูกได้)
สามารถได้ยินเสียงที่รูจมูกสามารถสัมผัสเมื่อเราวางฝ่ามือบนท้องหรืออก
- อัตราการหายใจจะต่ำกว่าหรือสูงกว่าค่าช่วงเฉลี่ยขณะที่พักเกินกว่า 10 นาที
- การหายใจวี๊ดๆ , การเป่าปาก, หายใจแรง และปากเขียว ผิวเขียว พบในทุกอายุ ในกรณีไข้,
การหายใจจะเพิ่มขึ้นกับอัตราการเต้นของหัวใจ
ช่วงปกติของอัตราการหายใจในเด็กที่ไม่มีไข้เมื่อพัก 10 นาที :
อายุ |
อัตราการหายใจ |
0 – 1 ปี |
30 – 50 / นาที |
1 – 3 ปี |
24 – 40 / นาที |
3 – 6 ปี |
22 – 34 / นาที |
6 – 12 ปี |
18 – 30 / นาที |
12 ปีขึ้นไป |
12 – 20 / นาที |
ค่าช่วงนี้อาจเพิ่มขึ้น 5 - 25% เมื่อมีไข้ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ,น้ำหนัก,สาเหตุของไข้,เป็นต้น
อัลกอริทึมของโปรแกรมแอพพลิเคชั่นนี้ เราได้รวมปัจจัยต่างๆไว้ เพื่อการพิจารณา
ในกรณีนี้ใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่น
ควรพบแพทย์โดยทันที หากมีอาการหายใจเสียงวี๊ดๆ, เป่าปากหายใจ, หายใจแรง และริมฝีปากเขียว ผิวเขียว ในทุกอายุ
ความเจ็บปวด
ในไข้หวัดใหญ่ อาการปวดศีรษะและปวดแขนขา พบได้ทั่วไป ในช่วงที่ไข้กำลังขึ้น
มาตราส่วนความเจ็บปวดสามารถใช้ประเมินความรุนแรง
อาการปวดทั่วทั้งตัวพบได้บ่อยและไม่มีอันตราย รวมทั้งอาการกล้ามเนื้อและข้อ
อาการปวดแขนขาควรสนใจเป็นพิเศษ ถ้ามันเกิดเฉพาะที่ (มีขนาดเล็ก) ,อาการปวดแย่ลงและอาจจะมีอาการบวมเฉพาะที่ ในกรณีที่กล่าวมาจำเป็นต้องพบแพทย์
เมื่อไข้ขึ้น,อาการปวดศีรษะจะเป็นอาการปกติ
ถ้าพบร่วมกับอาการคอแข็ง (Stiff neck) ,มันอาจจะเกิดจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้โดยยกศีรษะของเด็กขึ้นขณะที่เขานอนหงาย เด็กจะงอเข่า (Brudzinski’s sign)
อาการอาเจียนและท้องเสีย
หากพบอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมกับไข้, มันเป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารหากมีแต่อาการอาเจียนก็อาจจะเป็นสัญญาณของโรคลมแดด,โรคไส้ติ่งอักเสบ หรือที่พบได้น้อยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ในกรณีที่มีอาการเล็กน้อย ให้เด็กพัก,จิบน้ำบ่อยๆ ดูในบท “การดูแลขณะไข้”
ควรพบแพทย์ถ้า:
- ท้องเสีย ที่มีอุจจาระปนเลือด หรือท้องเสียนานกว่า 12 ชั่วโมง และ /หรือ
- อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง/ชั่วโมง อาเจียนถี่ มีน้ำสีเหลืองปน และ/หรือ
- เกิดร่วมกับอาการปวดกระเพาะรุนแรง และ/หรือมีอาการง่วงซึม
อีกสิ่งหนึ่ง,ควรพักผ่อนและกลืนของเหลวทีละอึกเป็นครั้งๆ
ความอยากอาหารหายไป
ทางสรีรวิทยา ความอยากอาหารที่หายไปเป็นเรื่องปกติ เมื่อมีไข้
อาหารที่ควรให้รับประทานอาหารควรเป็นอาหารธรรมดาย่อยง่ายที่ต้องเคี้ยว,โดยให้มากเท่าที่เด็กต้องการ
อาหารที่ให้ได้มีข้าว,ข้าวฟ่าง,ผักนึ่งที่หันเป็นชิ้นเล็กๆ,ผลไม้ เราจะให้อาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้า ที่ไข้ลดลง
การสูญเสียของเหลวและการดื่ม
ในกรณีเด็กทารกและเด็กเล็ก ภาวะขาดน้ำ (dehydration) สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อมีไข้
สามารถเกิดได้จาก :
- การดื่มน้ำหรือของเหลวที่ไม่เพียงพอ
- การเสียเหงื่อ
- อาเจียน
- ท้องเสียถ่ายเหลว
ถ้าอาการเรานี้เกิดขึ้นพร้อมกัน,เด็กเล็กสามารถเกิดภาวะขาดน้ำได้เร็ว
อาการขาดน้ำที่รุนแรง จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ :
- ปริมาณน้ำปัสสาวะลดลง ถ้าเด็กไม่ฉี่ (ปัสสาวะ) ภายใน 12 ชั่วโมง ให้ปรึกษาแพทย์
- ความเต่งตึง ของผิว และความแน่นของผิวลดลง อาการนี้เราจะเห็นว่าผิวหนังพับย่นที่หน้าท้อง, โดยอาการนี้จะค่อยๆ หายเป็นปกติอย่างช้าๆ หรือไม่คืนสู่ปกติเลย
- เมื่อร้องไห้ เราจะพบว่าน้ำตาลดลงหรือไม่มี หากไม่พบน้ำตาขนาดร้องไห้จำเป็นต้องดูแลแบบเร่งด่วน
- ตาลึก เห็นขอบเบ้าตาชัด นอกเหนือจากรอยใต้ตา
- ในเด็กทารก (จนถึงเด็กอายุ 1.5 ขวบ) กระหม่อมหน้าบุ๋มลง ดังรูปข้างบน
- อาการเชื่องซึม, มึนเพ้อ ในกรณีรุนแรงเด็กไม่สามารถปลุกให้ตื่นได้ หรือตื่นแต่สับสน
คำถามที่สำคัญโดยสรุป
- เด็กดื่มน้ำเท่าไร ? ถ้าเด็กไม่จิบน้ำ ภายใน 12 ชั่วโมง ควรปรึกษาแพทย์
- เด็กปัสสาวะครั้งสุดท้ายเมื่อไร? ถ้าเด็กไม่มีปัสสาวะเกินกว่า 12 ชั่วโมงควรพบแพทย์
- เด็กมีท้องเสียง่ายถ่ายเหลวไหม? จำเป็นต้องพบแพทย์ในกรณีท้องเสียถ่ายเหลวเกินกว่า 12 ชั่วโมงหรือมีอุจจาระปนเลือด
- เด็กมีอาเจียนด้วยไหม? ถ้าเด็กอาเจียนปนเลือดหรือน้ำดี และอาเจียนถี่ เกินกว่า 5 ครั้ง /ชั่วโมง ควรพบแพทย์
ในกรณีอาการเล็กน้อย (เช่นลิ้นแห้ง) เด็กไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่สิ่งสำคัญคือการให้น้ำกลับคืนร่างกาย
ดูข้างล่าง
รูปแบบการให้น้ำกลับคืน
- การให้นมเด็กที่ดีที่สุด สำหรับเด็กวัยดูดนม ถ้าเด็กมีอ้วกอาเจียน, คุณควรพยายามให้นมทีละน้อย หลังจากพักหลังอาเจียน 5- 10 นาที
- ของเหลวทั้งหมดที่ให้เหมาะสม ยกเว้นนมวัว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่หวานและไม่อัดแก๊ส)
- หากมีอาการอาเจียนร่วมกับท้องเสีย, เราสามารถให้น้ำเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Solution) ที่เย็นและมีรสชาติอ่อน ถ้าเด็กไม่สามารถจิบน้ำจากแก้วได้ควรใช้หลอด, ช้อนหรือ
ไซริงค์กระบอกฉีดยา ป้อนน้ำไม่กี่ ซีซีต่อครั้ง เกลือแร่ ORS มีเกลือแร่ที่จำเป็น (โซเดียม, โปรตัสเซียม, คลอรีน, ซิเตรต) และน้ำตาลกลูโคส - ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่บท “การดูแลระหว่างไข้”
ผื่น (Rash)
ผื่นสามารถเกิดขึ้น ก่อน, ระหว่าง หรือ หลังไข้ก็ได้
บ่อยครั้งพบผื่นก่อนมีไข้ ซึ่งมันเป็นอาการของการสิ้นสุดระยะฟักตัวของการติดเชื้อ
ผื่นระหว่างมีไข้ บ่อยครั้งเป็นอาการแสดงของโรคจากเชื้อไวรัส
ผื่นที่เกิดขึ้นหลังการมีไข้ เป็นอาการที่พบได้บ่อยของโรคติดเชื้อจากไวรัสที่ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องทำอะไร ไม่มีความจำเป็นต้องพบแพทย์
ผื่นที่ดูไม่เป็นอันตราย ควรที่จะแยกแยะออกจากผื่นจ้ำเลือดที่เป็นอันตราย (dangerous purpuric rashes)
จุดจ้ำเลือด (petechiae) ซึ่งจำเป็นต้องพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
โรคดีที่จุดจ้ำ เลือดที่อันตรายนี้พบได้ยากมาก และยังสามารถแยกออกจากผื่นไม่เป็นอันตรายได้ง่าย
การทดสอบด้วยแก้ว (The glass test) ใช้แยกแยะผื่น โดยใช้แผ่นกระจกหรือแก้วน้ำทั้งชนิดแก้วหรือพลาสติก ให้กดแก้วลงที่ผิว ถ้าเมื่อกดแก้วแล้วผื่นยังคงอยู่ มันคือผื่นจ้ำเลือดที่เป็นอันตราย ถ้ากดแก้วผื่นหายไป มันคือพื้นที่ไม่อันตราย (ดูจากรูป)
ภาพผื่นทางซ้าย ไม่อันตรายเพราะเมื่อรีดผิวหนังมันหายไป
ภาพผื่นแดงทางขวา เป็นผื่นจ้ำเลือดที่เป็นอันตราย
อย่างไรก็ตาม การทดสอบด้วยแก้วควรทำซ้ำทุก 4-6 ชั่วโมง กับผื่น เพื่อดูว่ามันยังคงไม่อันตราย
คุณสามารถหาเอกสารอ้างอิงที่สอดคล้องกับหมายเลขอ้างอิงที่นี่ : เอกสารอ้างอิง
คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง
อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024