อาการชักระหว่างมีไข้
คำว่า "อาการไข้ชัก" ที่ใช้ในการพูดทั่วไปนั้นไม่ถูกต้องซะทีเดียวนัก ควรเรียกว่า "อาการชักระหว่างการมีโรคติดเชื้อ" จะดีกว่า สิ่งนี้ยังแสดงถึงที่มาของปรากฏการณ์การเกิดการชักระหว่างมีไข้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งขัดกับความเชื่อเดิม อาการชักไม่ได้เกิดเฉพาะเวลามีไข้สูง แต่อาจเกิดการชักได้แม้ไม่มีไข้ ส่วนใหญ่โดยมากมักเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการติดเชื้อ ขณะที่ไข้เพิ่งเริ่มเพิ่มขึ้น
สำหรับคนที่ไม่รู้จักมันดูน่ากลัว
แต่ลองมาดูทีละขั้นตอนไปด้วยกัน
อุบัติการณ์การเกิด
อาการชักระหว่างเด็กไม่สบายไม่ใช่เรื่องแปลกในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 3% ของเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี เนื่องจากสมองของเด็กไวต่อการติดเชื้อและมีไข้มากกว่าในเด็กโต หรืออาจกล่าวได้ว่าเด็กเล็กมีความไวต่อการชักมากกว่า เมื่อเด็กมีอาการชักแล้ว อาจเกิดซ้ำได้อีก 1-2 เท่าจาก 1 ใน 3 ของเด็กทั่วไปจนกว่าพวกเขาจะเติบโตจนเข้าสู่วัยเรียน
โรคลมบ้าหมู ไม่ได้เกิดขึ้นจากมีอาการชักระหว่างเป็นไข้ในเด็ก คุณไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้เลย! จากเด็ก 100 คนที่มีอาการชักระหว่างเป็นไข้ มีเพียงสองกรณีเท่านั้นที่เป็นสัญญาณแรกเริ่มของการป่วยด้วยโรคลมชักในภายหลัง
อาการชักขณะมีไข้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมองแต่อย่างใด และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของพฤติกรรม การเรียนรู้ หรือพัฒนาการใดๆเลย
นอกจากนี้ยังไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างอาการชักขณะมีไข้กับกลุ่มอาการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ของทารก sudden infant death syndrome (SIDS)
อาการชักระหว่างมีไข้ตามปกติ ที่เรียกว่า “ไม่ซับซ้อน” คือ
- การกระตุกเป็นจังหวะของแขนขาทั้งสองข้าง
- ร่างกายแข็งทื่อ
- อาการกระตุกน้อยกว่า 5 นาที
- มักจะคลายลงเองใน 1-2 นาที
- ผู้ป่วยมักจะผล็อยหลับไปหลังจากนั้น
- อายุเด็ก 6 เดือน - 5 ปี
สิ่งที่ไม่ควรท
1) อย่าเพิ่มยาลดไข้เพื่อพยายามป้องกัน ไม่สามารถป้องกันหรือหยุดอาการเกร็งกระตุกได้ ไม่สามารถป้องกันได้แม้แต่ในเด็กที่เคยเป็นมีอาการชักระหว่างเป็นไข้มาก่อน
2) ห้ามทำให้เด็กตัวเย็นลงเพื่อป้องกันหรือในระหว่างมีอาการชัก
3) ในกรณีที่มีอาการชัก อย่าให้ยาลดไข้แก่เด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่าให้กินทางปาก
4) ในกรณีที่มีอาการชัก ห้ามกดเด็กลงกับพื้น หรือ พยายามง้างปาก ห้ามใส่อะไรเข้าไปในปากเด็ดขาด
พวกเราทำอะไรได้บ้าง?
สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันการชักระหว่างมีไข้
1. มาสนับสนุนการควบคุมอุณหภูมิของเด็กกันเถอะ! ขณะที่เด็กมีไข้ขึ้น มือและเท้าของเด็กมักยังคงเย็นอยู่ ซึ่งในกรณีนี้ ควรให้ความอบอุ่นแก่เด็กอย่างนุ่มนวล แทนที่จะทำให้ตัวเย็นลง การทำเช่นนี้ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า การให้ความร้อนที่เพียงพอเป็นวิธีป้องกันการชักระหว่างมีไข้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเพิ่มระดับเมลาโทนิน (132, 170-172) โดยการจัดห้องให้มืดและมีความสงบให้กับเด็กในสภาวะไข้ก็ช่วยป้องกันได้อีกด้วย
2. สิ่งสำคัญคือต้องให้เด็กมีสภาพแวดล้อมที่สงบและสบาย ซึ่งหมายความว่า: หลีกเลี่ยงความเครียด ความตึงเครียด ความกลัว สิ่งเร้าที่ไม่จำเป็น (หลีกเลี่ยงสื่อดิจิทัล เนื่องจากระบบประสาทต้องการความสงบ)
3. เมื่อผิวหนังของเด็กร้อนขึ้นในช่วงที่ 2 ของไข้ ใบหน้าของเขาจะแดง เราสามารถทำให้หน้าผาก ขมับ และร่างกายของเขาเย็นลงได้ด้วยการเช็ดด้วยผ้าขนหนูเปียกอุ่นๆเช็ดตัว
กรณีเกิดอาการชักระหว่างมีไข้ สามารถทำได้ตามนี้
- อย่างแรกคือการดูนาฬิกาอย่างรวดเร็ว ว่ามันเริ่มเมื่อไหร่
- ใจเย็น
- จับเด็กนอนตะแคงด้านข้างจะดีที่สุด เพราะเด็กอาจอาเจียน กลืนน้ำลาย ปกป้องศีรษะและทางเดินหายใจเป็นพิเศษ
- อยู่กับเด็ก และดูนาฬิกาเพื่อให้ทราบระยะเวลาว่าชักนานเท่าไหร่แล้ว
- โทรเรียก 1669 บริการฉุกเฉินและปฏิบัติตามคำแนะน
อาการชักระหว่างมีไข้ที่ซับซ้อนไม่ปกติ
อาการชักที่ถือว่า ซับซ้อน ไม่ปกติ เป็นดังนี้
- อาการชักที่ไม่สมมาตร แขนขา 2 ข้างไม่เท่ากัน
- ชักยาวนานกว่า 5 นาที
- อาการเริ่มต้นที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือเริ่มต้นที่จุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย (โฟกัส)
- เด็กไม่ได้สติ หรือไม่รู้สึกตัวเต็มที่ ระหว่างการชักสองครั้งติดต่อกัน
- เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
- มีอาการผิดปกติของระบบประสาทตกค้าง (เสียการรับรู้ความรู้สึก การเคลื่อนไหวผิดปกติ)
- เกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนหรือมากกว่า 5 ปี
จะทำอย่างไรในกรณีที่เกิดอาการชักที่ซับซ้อน
- หากอาการชักไม่สิ้นสุดภายใน 5 นาที ให้โทรไปที่หมายเลขฉุกเฉิน 1669 และปฏิบัติตามคำแนะนำ
- หากมี Diazepam Rectiole อยู่ ให้ป้อนเด็กหลังจากหยุดชักแล้ว
อัปเดตเวอร์ชัน: 1 มีนาคม 2024
คุณสามารถค้นหาหมายเลขอ้างอิงที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่: ข้อมูลอ้างอิง